จ.ระยอง เปิดสภากาแฟสัญจร มุ่งแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน ขับเคลื่อนพัฒนาจังหวัด

เมื่อวันที่ 21 พ.ย.67 ที่ร้านครัวนั่งดูเล ชายหาดแสงจันทร์ อ.เมือง จ.ระยอง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ ผวจ.ระยอง เป็นประธานเปิดกิจกรรมสภากาแฟสัญจร ครั้งที่ 12 ประจำปี 2567 ซึ่งมีสำนักงานประชาสัมพันธ์ จ.ระยอง โดยนายคีรีวัฒน์ อ้นพร้อม ประชาสัมพันธ์ จ.ระยอง สื่อมวลชน จ.ระยอง และเครือข่ายโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในครั้งนี้ โดยสภากาแฟสัญจรดังกล่าว จะจัดขึ้นทุกวันพฤหัสบดีที่สามของเดือน โดยกำหนดให้หน่วยงานแต่ละกระทรวงหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันจัดขึ้น มี น.ส.สลารีวรรณ ทัพทวี นายกำธร เวหน ผวจ.ระยอง หัวหน้าส่วนราชการจังหวัด นายอำเภอ ผู้บริหาร อปท.รัฐวิสาหกิจ องค์กรเอกชน เข้าร่วมกิจกรรมฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการพบปะ สนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รับฟังปัญหา และข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดต่อไป

นายไตรพ วงศ์ไตรรัตน์ ได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนถึงแนวทางแก้ไนปัญหาความเดือดร้อนของ ปชช.ว่า ในเรื่องเร่งความเดือดร้อนปัญหาน้ำท่วมนั้น มีอยู่ 3 จุด จุดแรกบริเวณถนนสาย 36 หน้าบริษัทไทยวัฒน์ฯ ฝนตกหนักๆ ไม่ครึ่ง ชม. จะท่วมทันที ซึ่งก็ได้มีการของบประมาณให้แขวงการทาง ไปดำเนินการทำท่อลอดระบายน้ำ ซึ่งจะแล้วเสร็จในเดือนหน้า แต่สาเหตุที่เสร็จล่าช้า ซึ่งตามกำหนดจะแล้วเสร็จเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากแบบการขุดเจาะเดิมวางแบบขุดชั้นดินของกรุงเทพฯ ต้องมาปรับแผนการขุดในชั้นดินของระยองที่เป็นหินยากต่อการเจาะ จึงทำให้ล่าช้า และช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.ที่ผ่านมา เกิดน้ำท่วมใหญ่ครั้งหนึ่ง ก็ได้สูบไปพักไว้ในที่ของเอกชน ก่อนจะสูบลงคลองทับมา อีกส่วนได้ใช้เงินงบประมาณกองทุนไฟฟ้า จัดซื้อเครื่องผลักดันน้ำมาติดตั้งไว้บริเวณคลองทับมา หลังศูนย์การค้าเซ็นทรัลระยอง และขอเครื่องสูบน้ำระยะไกลมาจากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 17 จันทบุรี สแตนบายไว้ ซึ่งก็สามารถแก้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้อีกปี และมีการวางแผนเปิด-ปิดประตูระบายน้ำปลายคลองก่อนลงทะเลรองรับ ส่วนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทั้งจังหวัด อบจ.ระยอง ก็ได้มีการจ้างบริษัทเชี่ยวชาญ มาทำการศึกษาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทั้งระบบแล้งด้วย โดยของบประมาณ 30 ลบ. มาดำเนินการ ส่วนการแก้ไขปัญหาโรงานกากสารเคมีวินโพรเสส ไฟไหม้ จนถึงขณะนี้ปัญหายังไม่จบ เพราะเป็นเรื่องระดับชาติ ส่วนหนึ่งมีคำสั่งให้อยู่ในความดูแลของโรงงานอุตสาหกรรม กระบวนการบำบัดมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วย แต่ที่ผ่านมาชาวบ้านวิตกเวลาฝนตก จะมีสารเคมีไหลลงคลองสาธารณะกระทบความเป็นอยู่ โดยมี อบจ.ระยอง เข้าไปดำเนินการแก้ปัญหาไม่ให้กระทบชาวบ้าน ซึ่งมีการของบกลางมาดำเนินการ 397 ลบ. แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับการอนุมัติ ซึ่งหากยังไม่ได้จะมีการขอตัดงบ 80 ลบ.มาดำเนินการในเบื้องต้นก่อน ส่วนระยะยาว ได้มีการตั้ง คกก. ขึ้นมาตรวจสอบโรงงานทั้งหมดในจังหวัด ส่วนการทำลายทรัพยากรธรรมชาติในจังหวัด ก็มีการสั่งการให้ตรวจสอบอย่างเคร่งครัดแล้ว ขณะที่เรื่องของยาเสพติด จังหวัดระยองถูกกำหนดให้เป็นจังหวัดนำร่องของภาคตะวันออก เพื่อปราบปรามและแก้ไขปัญหาให้ครบทุกมิติ โดยการปราบปรามกำหนดเป็นนโยบาย ตั้งเป้าเริ่มต้น อ.เมืองระยองปราบปรามเข้มข้น 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเรื่องปัญหาขยะ มีขยะ 2 ปะเภท คือ จากทะเล เบื้องต้นได้มีการจัดซื้อรถเก็บขยะ โดยพื้นที่ อปท. ที่มีพื้นติดทะเล อีกประเภทคือ ขยะของ อบจ.ระยอง มีกลิ่นเหม็น เบื้องต้นได้วางแผนกับ อบจ.ระยอง ของบประมาณสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะ แต่ขณะนี้ติดยังติดอยู่ที่กระทรวงพลังงาน ซึ่งจะต้องผลักดันต่อไป ส่วนขยะที่มีการฝังกลบได้ก็จะมีการตัดดำเนินการฝังกลบเป็นพื้นที่ไป ขณะที่ปัญหาขยะของเทศบาลเมืองมาบตาพุด ที่ส่งกลิ่นเห็นรบกวนชาวบ้าน ก็จะมีการขนย้ายไปกำจัดที่สระบุรี คาดสัปดาห์หน้าจะสามารถออกได้หมด มีประมาณ 5,000 ต้น.

 

บังเอิญ ชาญด้วยกิจ/รายงาน