“กรมอุทยานฯ ร่วมกับภาคีเครือข่าย 9 หน่วยงาน ลงนาม MOU ติดตั้งสถานีโทรมาตรในป่าต้นน้ำทั่วประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพเฝ้าระวังภัยพิบัติ” 3 กันยายน 2567 -​ มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย จัดพิธีลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติ เพื่อตรวจวัดข้อมูลภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน และระดับน้ำ ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ ระยะที่ 2” ร่วมกับภาคีเครือข่าย 10 หน่วยงาน ณ ห้องศรีจุลทรัพย์ 1 ชั้น 10 อาคารศรีจุลทรัพย์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ . พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองประธานกรรมการที่ปรึกษา ทำหน้าที่แทนประธานกรรมการมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว เพื่อสานต่อโครงการอันเนื่องมาจากพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา องค์ประธานกรรมการมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย และเพื่อสานต่อพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ด้านการนำระบบเทคโนโลยีโทรมาตรอัตโนมัติมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำและภัยพิบัติของประเทศ . ในการนี้ นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช และนายสมบูรณ์ ธีรบัณฑิตกุล ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ ได้เข้าร่วมพิธีลงนามพร้อมกับตัวแทนหน่วยงานภาคีอีก 9 หน่วยงาน โดยอธิบดีกรมอุทยานฯ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญในการดูแลรักษาเครื่องโทรมาตรให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที เพื่อให้การเฝ้าระวังและเตือนภัยเป็นไปอย่างแม่นยำและทันต่อเหตุการณ์ . ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาภัยพิบัติและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ป่าต้นน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งต้นกำเนิดของแม่น้ำลำธาร โดยหน่วยงานภาคีที่ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ ได้แก่ สำนักงาน กสทช. , กรมป่าไม้, กรมการปกครอง, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน), สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกองทัพบก . สำหรับโครงการระยะที่ 2 นี้ มีเป้าหมายในการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติในพื้นที่ป่าต้นน้ำทั่วประเทศให้ครบ 510 สถานี โดยปัจจุบันได้ติดตั้งไปแล้ว 242 สถานี ข้อมูลที่ได้จะถูกส่งผ่านระบบโทรคมนาคมไปยังคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ และแอปพลิเคชัน Thai Water เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ นอกจากนี้ยังมีระบบแจ้งเตือนข้อมูลฝนตกหนักผ่านแอปพลิเคชัน LINE ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้าและสามารถเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ได้. สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ

“กรมอุทยานฯ ร่วมกับภาคีเครือข่าย 9 หน่วยงาน ลงนาม MOU ติดตั้งสถานีโทรมาตรในป่าต้นน้ำทั่วประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพเฝ้าระวังภัยพิบัติ”

3 กันยายน 2567 -​ มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย จัดพิธีลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติ เพื่อตรวจวัดข้อมูลภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน และระดับน้ำ ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ ระยะที่ 2” ร่วมกับภาคีเครือข่าย 10 หน่วยงาน ณ ห้องศรีจุลทรัพย์ 1 ชั้น 10 อาคารศรีจุลทรัพย์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองประธานกรรมการที่ปรึกษา ทำหน้าที่แทนประธานกรรมการมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว เพื่อสานต่อโครงการอันเนื่องมาจากพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา องค์ประธานกรรมการมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย และเพื่อสานต่อพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ด้านการนำระบบเทคโนโลยีโทรมาตรอัตโนมัติมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำและภัยพิบัติของประเทศ

.

ในการนี้ นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช และนายสมบูรณ์ ธีรบัณฑิตกุล ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ ได้เข้าร่วมพิธีลงนามพร้อมกับตัวแทนหน่วยงานภาคีอีก 9 หน่วยงาน โดยอธิบดีกรมอุทยานฯ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญในการดูแลรักษาเครื่องโทรมาตรให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที เพื่อให้การเฝ้าระวังและเตือนภัยเป็นไปอย่างแม่นยำและทันต่อเหตุการณ์

.

ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาภัยพิบัติและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ป่าต้นน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งต้นกำเนิดของแม่น้ำลำธาร โดยหน่วยงานภาคีที่ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ ได้แก่ สำนักงาน กสทช. , กรมป่าไม้, กรมการปกครอง, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน), สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกองทัพบก

.

สำหรับโครงการระยะที่ 2 นี้ มีเป้าหมายในการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติในพื้นที่ป่าต้นน้ำทั่วประเทศให้ครบ 510 สถานี โดยปัจจุบันได้ติดตั้งไปแล้ว 242 สถานี ข้อมูลที่ได้จะถูกส่งผ่านระบบโทรคมนาคมไปยังคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ และแอปพลิเคชัน Thai Water เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ นอกจากนี้ยังมีระบบแจ้งเตือนข้อมูลฝนตกหนักผ่านแอปพลิเคชัน LINE ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้าและสามารถเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ได้.

 

สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ