สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาไท และ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา ร่วมจัด ประชุมเชิงปฏิบัติการ “#เวทีวิชาการเพื่อบูรณาการความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาช้างป่า #ครั้งที่2”

สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาไท และ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา ร่วมจัด ประชุมเชิงปฏิบัติการ “#เวทีวิชาการเพื่อบูรณาการความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาช้างป่า #ครั้งที่2”⊥ ในวันที่ 5-6 กันยายน พ.ศ.2567 ณ ห้องประชุมโชคอนันต์ อาคารเรียนรวมและอำนวยการ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

.

จากการที่สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดทำโครงการพื้นที่ปฏิบัติการที่ยั่งยืน (SDG Lab) เพื่อสนับสนุนการบูรณาการการทำงานของภาคส่วนต่าง ๆในการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ โดยพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นต้นแบบที่ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการพื้นที่ปฏิบัติการที่ยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่องในปี 2567 เครือข่ายภาคตะวันออกได้เสนอให้เรื่อง”#การจัดการช้างป่าภาคตะวันออก“ เป็นประเด็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข ขณะที่ #มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ เป็นเครือข่ายการทำงานของวุฒิอาสาและภาคีภาคตะวันออกได้ร่วมประกาศเจตนารมณ์การเป็นหุ้นส่วนร่วมพัฒนาเพื่อสร้างโลกเย็นที่เป็นธรรมและร่วมเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาในการยกระดับการจัดทำโครงการพื้นที่ปฏิบัติการที่ยั่งยืน

.

สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์และมูลนิธิพัฒนาไทจัดประชุมเวทีวิชาการเพื่อบูรณาการความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาช้างป่าภาคตะวันออกเพื่อร่วมกันหาทางออกหรือ “#แนวทางการจัดการปัญหาบนฐานความรู้”เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและเป็นระบบใช้งบประมาณในกรรแก้ไขปัญหาได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

.

โดยมี #เป้าหมาย : เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาที่เป็นข้อจำกัดโดยสร้างความร่วมมือและพื้นที่นำร่อง (Sand box) ในการใช้นวัตกรรมใหม่ ๆในการแก้ไขปัญหาช้างป่าตะวันออก

.

ในการจัดเวทีวิชาการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์และความคาดหวังในการที่จะ

.

1. #ถอดบทเรียนการจัดการปัญหาช้างป่าตะวันออกที่สะท้อนทั้งรูปแบบการจัดการที่ผ่านมา ทั้งที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว

.

2. #สร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาช้างป่าภาคตะวันออก ที่ใช้องค์ความรู้ การศึกษาวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆมาช่วยลดข้อจำกัดในการจัดการปัญหาช้างป่าภาคตะวันออกให้คลี่คลาย

.

การจัดประชุมเวทีวิชาการดังกล่าวอาจจะมีพื้นที่และรองรับผู้เข้าร่วมได้จำกัด แต่เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถเสนอปัญหาและทางออกเพื่อนำมาดำเนินการในพื้นที่ทดลองและปฏิบัติการ

.

เพจ Space ป่าตะวันออก จึงจะทำแบบสอบถามเพื่อเป็นการรับฟังเสียงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และได้รับผลกระทบจากช้างป่าในภาคตะวันออกเพื่อรวบรวมเสียงจากพื้นที่ต่าง ๆนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์รวมไปถึง”#อาจจะ“เป็นข้อเสนอที่ถูกใช้เพื่อไปขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหาช้างป่าภาคตะวันออกต่อไป การจัดเวทีวิชาการดังกล่าวมีกำหนดการตามภาพที่แนบมาครับ

 

cr. Space ป่าตะวันออก