สะพานเชื่อมระบบนิเวศ แห่งแรกในประเทศไทยของกรมทางหลวงชนบท เพื่อเชื่อมระบบนิเวศ ระหว่างเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน และอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง

สะพานเชื่อมระบบนิเวศ แห่งแรกในประเทศไทยของกรมทางหลวงชนบท เพื่อเชื่อมระบบนิเวศ ระหว่างเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน และอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง
*ทช.สร้างเป็นสะพานบนถนน”รย.4060”ให้สัตว์ลอด
*2เลน587ล้านเชื่ิอมเขาอ่างฤาไน-เขาชะเมา -เขาวง
*แห่งแรกทางหลวงเปิดตำนานไว้@ทับลาน-เขาใหญ่


กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ก่อสร้างสะพานบนถนนทางหลวงชนบทสาย รย.4060 เชื่อม อ. เขาชะเมา จ.ระยอง และ อ. แก่งหางแมว จ. จันทบุรี รวม 2 แห่ง ความกว้างเท่ากัน คือ 11 เมตร รองรับการจราจร 2 ช่องทาง (ไป – กลับ) โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างรวมงบประมาณ 587.516 ล้านบาท คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จช่วงกลางปี 2568 ถือเป็นสะพานเชื่อมระบบนิเวศแห่งแรกในประเทศไทยของทช. (แต่เป็นแห่งที่2ของประเทศไทย) เพื่อเชื่อมระบบนิเวศระหว่างเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน และอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา – เขาวง จากเดิมที่มีถนนคั่นกลางมาเป็นสะพาน เพื่อให้รถยนต์สัญจรผ่านได้ รวมทั้งรื้อถนนเดิมบางส่วนเพื่อให้สัตว์ป่าเดินลอดใต้สะพานได้อย่างสะดวกปลอดภัย


นอกจากนี้จะมีที่จอดรถบนสะพาน ความยาวด้านละ 30 เมตร ทั้งสองด้านของสะพาน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ ประชาชนผู้ที่สนใจสังเกตพฤติกรรมของสัตว์ป่าที่เดินผ่านหรืออาศัยอยู่ในบริเวณสะพาน เพื่อความปลอดภัยในการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า และเพิ่มศักยภาพในการเดินทางให้กับประชาชน รวมถึงร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในประเทศ


สะพานแห่งที่ 1 มีความยาวรวม 630 เมตรบริเวณ กม.ที่ 4+525 ถึง กม.ที่ 5+155 สะพานตัวที่สองความยาวรวม 420 เมตรบริเวณ กม.ที่ 9+517.25 ถึง กม.ที่ 9+937.25 ทางหลวงชนบทสาย รย.4060
สะพานจะเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าและพรรณพืช ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและสัตว์ป่าอย่างยั่งยืน โดย ทช. ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการเข้าใช้ประโยชน์ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว

สะพานแห่งนี้ของกรมทางหลวงชนบทถือเป็นทางเชื่อมผืนป่าแห่งที่2ของประเทศไทย
ส่วนทางเขื่อมผืนป่าแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีรูปแบบทั้งอุโมงค์และสะพานกรมทางหลวง(ทล.) ก่อสร้างเป็นแห่งแรกบนทางหลวงสาย 304กบินทร์บุรี-ปักธงชัย รวมการขยายถนนระยะทาง19 กม.งบประมาณ 3 พันกว่าล้านบาท เพื่อเชื่อมผินป่าเขาใหญ่-ทับลาน เปิดใช้เมื่อปี 2562
__________
#ทางเขื่อมผืนป่าแห่งที่สองของไทย
#กรมทางหลวงชนบท(ทช.)

บังเอิญ ชาญด้วยกิจ/รายงาน