การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ด้วยสื่อปัญญาประดิษฐ์ (AI-based media)
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
ด้วยสื่อปัญญาประดิษฐ์ (AI-based media) สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
(A Development of teaching and learning Model with AI-based media to enhance learning and innovative skills for Grade 8 students)
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนด้วยสื่อปัญญาประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจวิชาการออกแบบเทคโนโลยีก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนการสอน 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนการสอน 4) เพื่อประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ จำนวน 42 คน ได้มาโดย
สุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple randomsampling) การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา สัมภาษณ์เชิงลึก แบบทดสอบ แบบประเมินทักษะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบ t-test แบบ dependent
ผลการวิจัยพบว่า
- รูปแบบการเรียนการสอน PSCAI Model มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) พื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน 2) การเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติ 3) การใช้ปัญหาเป็นฐาน 4) สื่อนวัตกรรมต้นแบบ 5) บทบาทของครูผู้สอนกับการระดมสมอง ขั้นตอนการเรียนการสอน มี 5 ขั้นตอน คือ
1) P = Prepare & Prototype คือ ขั้นเตรียมพื้นฐานและสร้างแบบจำลองนวัตกรรม 2) S = Search Problem & Data คือขั้นค้นหาปัญหาและสืบค้นข้อมูล 3) C = Consider คือขั้นพิจารณาข้อมูล 4) A = Apply การประยุกต์ 5) I = Implement & Testing คือขั้นของการนำไปใช้และการทดสอบระบบ
- ความรู้ความเข้าใจวิชาการออกแบบเทคโนโลยี สูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมวิชาการออกแบบเทคโนโลยี สูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยพิจารณาใน 3 ด้าน คือ
1) ทักษะความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรมหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาหลังใช้รูปแบบ
การจัดการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ทักษะการสื่อสารและการร่วมมือหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนการสอน PSCAI Model
ที่พัฒนาขึ้น พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64)
อัจฉริยา สุรวรเชษฐ
Autchariya Suraworachet
โรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
DCI ศูนย์นวัตกรรมโรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ สนับสนุนโดย อบจ.ชลบุรี