“กรมอุทยานฯผนึกกำลังกองทัพเรือปฏิบัติการศรชลพิทักษ์ทะเลไทย”
“กรมอุทยานฯผนึกกำลังกองทัพเรือปฏิบัติการศรชลพิทักษ์ทะเลไทย”
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 คณะเจ้าหน้าที่ภายใต้การอำนวยการโดยนายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปรามและควบคุมไฟป่า นำโดยนายพนัชกร โพธิบัณฑิต ผู้อำนวยการส่วนยุทธการด้านป้องกันและปราบปราม เจ้าหน้าที่หน่วยเฉพาะกิจปฏิบัติการพิเศษผู้พิทักษ์อุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่า (พญาเสือ) ร่วมกับอุทยานแห่งชาติตะรุเตา นำโดยนายมงคล แดงกัน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ได้ออกตรวจปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ในพื้นที่รับผิดชอบอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ตามที่ได้รับการประสานงานกับหน่วยปฏิบัติการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งที่ 491 กองทัพเรือ ว่าในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 17.10 น. ได้รับการประสานจากศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล (ศรชล) ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 ว่าได้รับแจ้งจากเครือข่ายประมงในพื้นที่ พบเรือประมงสัญชาติมาเลเซีย จำนวน 2 ลำ รุกล้ำเข้ามาทำการประมงในเขตน่านน้ำไทย บริเวณด้านทิศใต้ของเกาะตะง่าห์ จังหวัดสตูล พิกัด Lat 6 องศา 32.20 ลิปดาเหนือ Long 99 องศา 24.80 ลิปดาตะวันออก เจ้าหน้าที่จึงได้บูรณาการกำลังกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดกำลังพลพร้อมเรือยางท้องแข็งและเรือตรวจการประมงทะเล เข้าตรวจสอบในพื้นที่ดังกล่าว เวลา 20.30 น. เดินทางถึงบริเวณที่ได้รับแจ้งตรวจพบเรือประมงมาเลเซีย จำนวน 2 ลำ พร้อมลูกเรือ รวม 6 คน (ชาวไทย 2 คน และชาวมาเลเซีย 4 คน) กำลังทำการประมงอวนลอย จึงแสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่เข้าทำการจับกุมเรือลำที่ 1 ชื่อ SABI BIN CHEMAN หมายเลข KHF 1455 ขนาด 11.63 ตันกรอส และลำที่ 2 ชื่อเรือ WAN MUHAMAD หมายเลขประจำเรือ KHF 1714 ขนาดตัวเรือยาว ขนาด 6.70 ตันกรอส เครื่องยนต์ HINO รุ่น EH100 และได้ทำการควบคุมผู้ต้องหา 6 คน พร้อมเรือกลับเข้าฝั่งที่เกาะหลีเป๊ะ ตรวจยึดของกลาง 5 รายการ ได้แก่
1. เรือประมงสัญชาติมาเลเซียชื่อ KHF 1455 ตัวเรือเป็นไม้ ตัวเรือสีฟ้า เก๋งสีแดง ขนาดกว้าง 2.80 เมตร ยาว 12.25 เมตร ลึก 1.2 เมตร ขนาด 11.63 ตันกรอสต์ พร้อมเครื่องยนต์ยี่ห้อ มิซซูบิชิ หมายเลขเครื่อง – จำนวน 1 ลำ
2. เรือประมงสัญชาติมาเลเซียชื่อ KHF 1714 ตัวเรือเป็นไม้ ตัวเรือสีฟ้า เก๋งสีแดง ขนาดกว้าง 2.35 เมตร ยาว 10.74 เมตร ลึก 0.87 เมตร ขนาด 6.20 ตันกรอสต์ พร้อมเครื่องยนต์ยี่ห้อ Hino หมายเลขเครื่อง 76468 จำนวน 1 ลำ
3. เครื่องมือประมง อวน ความยาว 2 ไมล์ ตรวจยึดจากของกลางลำดับที่ 1
4. เครื่องมือประมง อวน ความยาว 800 เมตร ตรวจยึดจากของกลางลำดับที่ 2
5. สัตว์น้ำเบญจพรรณ (หลากหลายชนิด) น้ำหนักรวม 20 กิโลกรัม
จับกุม/ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดทั้งหมด ในข้อหา
1.ผู้ต้องหาที่ 4 – 6 ร่วมกันทำการประมงพาณิชย์ในน่านน้ำไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตามแห่ง พ.ร.ก.ประมง พ.ศ.2558 มาตรา 36
2.ร่วมกันทำการประมงโดยไม่มีใบอนุญาตทำการประมงหรือไม่มีใบอนุญาตให้ใช้เครื่องมือประมง อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอย่างร้ายแรง อันเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.ประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 114(2)
3.ร่วมกันนำเรือประมงที่ไม่ใช่เรือไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นความผิดอันเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.ประมง พ.ศ.2558 มาตรา 94 ประกอบมาตรา 159
4. ผู้ต้องหาที่ 1 และที่ 4 ผู้ควบคุมเรือฝ่าฝืนใช้เรือที่มีสัญชาติต่างประเทศหรือเรือเป็นของคนต่างด้าวทำการประมงในเขตการประมงไทย อันเป็นความผิดตามมาตรา 7(1) และมาตรา 11 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย พ.ศ. 2482 ผู้ต้องหาที่ 2,3,5,6 เป็นลูกเรือฝ่าฝืนใช้เรือที่มีสัญชาติต่างประเทศหรือเรือเป็นของคนต่างด้าวทำการประมงในเขตการประมงไทย
5. ฐาน ร่วมกันกระทำการอื่นใด อันส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 19(2) ประกอบมาตรา 42 วรรคหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562
6. ร่วมกันล่อหรือนำสัตว์ป่าออกไปหรือกระทำให้เป็นอันตรายแก่สัตว์ป่าด้วยประการใดๆโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงาเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 19 (3) ประกอบมาตรา 43 ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562
7. ร่วมกันเข้าไปดำเนินกิจการใดๆ เพื่อหาผลประโยชน์ในเขตอุทยานแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา19 (6) ประกอบมาตรา 44
8. ร่วมกันนำเครื่องมือสำหรับล่าสัตว์หรือจับสัตว์ หรืออาวุธใดๆ เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 19 (7) ประกอบมาตรา 45
9. บุคคลซึ่งเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งได้สั่งให้ปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด ตามมาตรา 20ประกอบมาตรา 47
คณะพนักงานเจ้าหน้าที่จึงได้ร่วมกันจัดทำบันทึกเรื่องราวนำส่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเกาะหลีเป๊ะ เพื่อร่วมกล่าวโทษดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
เหตุเกิดระหว่างวันที่ 17 – 18 กุมภาพันธ์ 2566 บริเวณพิกัด UTM ๔๗ P 545697 E 722548 N ท้องที่หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ภายในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา
โดยของกลาง ลำดับ 1-4 มอบให้อุทยานแห่งชาติตะรุเตาเก็บรักษาระหว่างคดีตามระเบียบ
นายพนัชกร โพฑิบัณฑิต
ผู้อำนวยการส่วนยุทธการด้านป้องกันและปราบปราม
ผู้รายงาน