โครงการ STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต จัดกิจกรรมแผนงานปฎิบัติการ STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต กิจกรรมพัฒนาศักยภาพเยาวชน STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต
โครงการ STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต จัดกิจกรรมแผนงานปฎิบัติการ STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต กิจกรรมพัฒนาศักยภาพเยาวชน STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดระยอง จัดกิจกรรม การพัฒนาศักยภาพชมรม STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต ณ ห้องประชุม วิทยาลัยเทคโนโลยีระยอง บริหารธุรกิจ (R-TEC) อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยมี ดร.โนชญ์ ชาญด้วยกิจ ประธานชมรม STRONG – จิตพอเพียง ต่อต้านทุจริต จังหวัดระยอง เป็นประธานเปิดงาน และกล่าวต้อนรับ นายไพศาล เชาว์ดี ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีระยองบริหารธุรกิจและคณาจารย์วิทยาลัยฯ
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ได้กำหนดแผนย่อย ด้านการป้องกันการทุจริต และประพฤติมิชอบ มุ่งการพัฒนาและปรับพฤติกรรม “คน” ทุกกลุ่มในสังคม โดยเน้นการปลูกฝัง และหล่อหลอมให้มีจิตสำนึก และพฤติกรรม ในความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งการสร้างวัฒนธรรมต้านทุจริต รู้จักแยกแยะเรื่องส่วนตัวออกจากประโยชน์ส่วนรวม ควบคู่ไปกับการสนับสนุน การมีส่วนร่วม เป็นเครือข่ายแจ้งเบาะแส การทุจริตในทุกภาคส่วนของสังคม
จากหลักการดังกล่าวข้างต้น สำนักงาน ป.ป.ช. จึงได้ดำเนินโครงการ STRONG – จิตพอเพียง ต้านทุจริต อย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยระยะแรกได้มีการวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ ของการแก้ไขปัญหาการทุจริตคือ การได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ประชาชนมีความตื่นตัวต่อการทุจริต มีความสนใจต่อข่าวสาร และตระหนักถึงผลกระทบของการทุจริตที่มีต่อประเทศ มีกระบวนการเรียนรู้ เพื่อปรับฐานความคิดให้สามารถแยกแยะ ระหว่างผลประโยชน์ส่วนตน กับผลประโยชน์ส่วนรวมได้ มีวัฒนธรรมทางสังคมที่มีฐาน บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความละอายต่อการทุจริต
สำหรับวันนี้ เป็นการดำเนินกิจกรรม การพัฒนาศักยภาพชมรม STRONG – จิตพอเพียง ต้านทุจริต กลุ่มงานป้องกันการทุจริต สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดระยอง เรียนเชิญ นักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยระยองบริหารธุรกิจ จำนวน 50 คน เข้าร่วมอบรมในวันนี้ เพื่อขยายกลุ่มเครือข่าย ในการเฝ้าระวังการทุจริต ไปในกลุ่มเด็ก และเยาวชนให้ตระหนักถึงการทุจริต คอร์รัปชั่นสามารถคิดแยกแยะ ระหว่างผลประโยชน์ส่วนรวม และผลประโยชน์ส่วนตนได้ และเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ของการจับตามอง และแจ้งเบาะแส การทุจริต (Wath & Voice) ให้กับสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหสัดระยอง เมื่อเด็ก และเยาวชน หันมาเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังการทุจริตมากขึ้น โดยตระหนักถึงค่านิยม ” ไม่ทำ ไม่ทน ไม่เฉย” แล้วจะส่งผลให้ผู้ที่คิดกระทำการทุจริต จะหาช่องทางการกระทำความผิดได้ยากขึ้น โดยมีความมุ่งหวังว่า การทุจริตต่าง ๆ จะน้อยลงในที่สุด
บังเอิญ ชาญด้วยกิจ/รายงาน